สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รับ นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ (บัดนี้ - 6 สิงหาคม 2552)

หน่วยงาน / องค์กร สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
รายละเอียด ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง
บุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔.๑ / ว ๑๕
ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคล
เข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๑. ตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง และเงินเดือนที่จะได้รับ

๑.๑ ตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

๑.๒ อัตราเงินเดือน
อัตราเงินเดือน ๙,๗๐๐ บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด

๑.๓ บรรจุครั้งแรก จำนวน ๓ อัตรา

๒. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ
ในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น
ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดกิจกรรมตามโครงการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ โดยประสานงาน
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
(๒) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน และรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ และสรุปผล
เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการประชาสัมพันธ์
(๓) ศึกษา ค้นคว้าข้อมูล วิเคราะห์เพื่อประกอบการวิจัย วางแผนการประชาสัมพันธ์
และติดตามผล
(๔) จัดทำเอกสาร และผลิตบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่

๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน
หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ด้านการบริการ
ให้บริการข้อมูลการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ

๓. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ

๓.๑ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
(๓) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
(๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำผิด
ทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำ ผิดวินัย
ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้
หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงาน
ในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข.
(๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณี
มีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว
และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงาน หรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่
สำหรับพระภิกษุหรือสามเณรทางราชการไม่รับสมัครสอบ และไม่อาจ
ให้เข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
ที่ นว ๘๙ / ๒๕๐๑ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๐๑ และตามความในข้อ ๕ ของคำสั่งมหาเถรสมาคม
ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๘

๓.๒ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ดังนี้
ได้รับปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชา
นิเทศศาสตร์ ทางการประชาสัมพันธ์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน วิทยุโทรทัศน์ หรือการโฆษณา
และเป็นผู้ที่สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาโทของ ก.พ.

๔. การรับสมัครสอบ

๔.๑ วิธีการรับสมัคร สมัครด้วยตนเอง หรือโดยทางไปรษณีย์

๔.๑.๑ การสมัครด้วยตนเอง
ให้ผู้ประสงค์จะสมัครสอบขอและยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ที่
กลุ่มบริหารงานบุคคล (ชั้น ๒๐) สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เลขที่ ๖๖๖
อาคารธนาลงกรณ์ ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำ หรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐
ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ถึงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ในวันราชการ ภาคเช้า เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น.
ภาคบ่าย เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๕.๓๐ น.

๔.๑.๒ การสมัครโดยทางไปรษณีย์
ให้ผู้ประสงค์สมัครสอบ Download ใบสมัครสอบได้ที่ http://webhost.
m-culture.go.th/personnel และกรอกข้อความในใบสมัครด้วยลายมือของตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน
พร้อมส่งใบสมัครและหลักฐานการสมัครสอบตามข้อ ๔.๓ และส่งธนาณัติเป็นค่าธรรมเนียมสมัครสอบ
จำนวนเงิน ๒๐๐ บาท สั่งจ่ายในนามผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักบริหารกลาง สำนักงาน
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ป.ณ. บางกอกน้อย ๑๐๗๐๐ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังกลุ่มบริหาร
งานบุคคล (ชั้น ๒๐) สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เลขที่ ๖๖๖ อาคารธนาลงกรณ์
ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ ภายในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
โดยถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับจดหมายของผู้สมัคร เอกสารสมัครที่ส่งภายหลัง
วันปิดรับสมัครจะไม่ได้รับการพิจารณา

๔.๒ ค่าธรรมเนียมสอบ ผู้สมัครสอบต้องเสียค่าธรรมเนียมสอบอัตรา ตำแหน่งละ ๒๐๐ บาท
ค่าธรรมเนียมสอบจะไม่จ่ายคืนให้เมื่อได้ประกาศรายชื่อว่าเป็นผู้มิสิทธิ
เข้าสอบแล้ว เว้นแต่มีการยกเลิกการสอบครั้งนั้นทั้งหมด เนื่องจากมีการทุจริต หรือส่อไปในทางทุจริต
อันอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการสอบแข่งขัน

๔.๓ หลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมใบสมัครสอบ
(๑) รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑×๑.๕ นิ้ว
ถ่ายครั้งเดียวกันไม่เกิน ๑ ปี (นับถึงวันปิดรับสมัคร) จำนวน ๓ รูป
(๒) สำเนาปริญญาบัตร และสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (Transcript)
ที่แสดงว่าเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งที่สมัครสอบ จำนวนอย่างละ ๑ ฉบับ โดยจะต้องสำเร็จ
การศึกษา และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
ในกรณีที่ไม่สามารถนำหลักฐานการศึกษาดังกล่าวมายื่นพร้อมใบสมัครสอบได้
ก็ให้นำหนังสือรับรองคุณวุฒิที่สถานศึกษาออกให้ โดยระบุสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา และวันที่
ที่ได้รับอนุมัติปริญญาบัตร ซึ่งต้องอยู่ภายในกำหนดวันปิดรับสมัครมายื่นแทนก็ได้
(๓) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือสำเนา
ทะเบียนบ้านอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน ๑ ฉบับ
(๔) สำเนาหลักฐานอื่นๆ เช่น ใบสำคัญการสมรส (เฉพาะผู้สมัครสอบเพศหญิง)
ใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล (ในกรณีที่ชื่อ - นามสกุล ในหลักฐานการสมัครสอบไม่ตรงกัน) อย่างละ ๑ ฉบับ
(๕) สำเนาหนังสือรับรองผลการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
ของ ก.พ. ระดับปริญญาโท จำนวน ๑ ฉบับ
(๖) ใบรับรองแพทย์ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๑ เดือน และแสดงว่าไม่เป็นโรคที่ต้องห้าม
ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕) โดยให้นำมายื่นในวันสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)
ทั้งนี้ ในสำเนาหลักฐานทุกฉบับ ให้ผู้สมัครสอบเขียนคำรับรองว่า สำเนาถูกต้อง
และลงชื่อกำกับไว้ด้วย

๔.๔ เงื่อนไขในการรับสมัครสอบ
ผู้สมัครสอบจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบ และรับรองตนเอง
ว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่สมัครสอบ
ตรงตามประกาศรับสมัครสอบจริง และจะต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ในใบสมัคร พร้อมทั้งยื่นหลักฐาน
ในการสมัครสอบให้ถูกต้องครบถ้วน (ทั้งกรณีการสมัครด้วยตนเอง และโดยทางไปรษณีย์) ในกรณีที่
มีการผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครสอบ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม อาจไม่รับสมัครสอบ

๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขัน วัน เวลา
สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ ณ กลุ่มบริหารงานบุคคล
(ชั้น ๒๐) สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และที่ http://webhost.m-culture.go.th/personnel

๖. หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
หลักสูตร และวิธีการสอบแข่งขัน มี ๒ ภาค ดังนี้

๖.๑ ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
๑. ความรู้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ เช่น การเขียนข่าว บทความ และสารคดี
๒. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ กิจกรรม โครงการ และการเสริมสร้างภาพลักษณ์
ของกระทรวงวัฒนธรรม

๖.๒ ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
จะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว
ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์
ทั้งนี้ อาจใช้วิธีอื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์
ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ
ของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะ
ที่จำเป็นของตำแหน่ง
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ก่อน
และเมื่อสอบผ่านภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้าสอบ
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)

๗. เกณฑ์การตัดสิน
ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้ จะต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนในการสอบแต่ละภาค
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐

รายละเอียด(เพิ่มเติม) / เอกสาร
เว็บไซต์ / ลิงค์อื่นๆ http://webhost.m-culture.go.th/personnel
ฝากประวัติ ฝากประวัติเพื่อสมัคงานกับเว็บไซต์

บริษัท ไทยเว็บ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
2/152 ซอยเพชรเกษม 114 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10160
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0105553027232
Tel : 02-810-8300 (จ.-ศ.08.30 - 17.30 น.) , 085-8213121 (24 ชม.) Fax : 02-810-8301
Email : [email protected] (ฝ่ายขาย) [email protected] (ฝ่ายบริการลูกค้า)
appstore googleplay
เพิ่มเพื่อน Line Facebook Jobthaiweb.com
0.18720102310181